ด้านศาสนาและวัฒนธรรม
1. มีจำนวนศาสนสถาน (วัด) ในเขตรับผิดชอบ จำนวน 3 แห่ง ได้แก่
- วัดดอยต่อ หมู่ที่ 3 บ้านดอยต่อ
- วัดสุวรรณมงคล หมู่ที่ 5 บ้านดงสุวรรณ
- วัดบ้านแหลว หมู่ที่ 6 บ้านแหลว
ด้านการศึกษา
1. จำนวนโรงเรียนในเขตรับผิดชอบ จำนวน 1 แห่ง ได้แก่
- โรงเรียนบ้านแหลว
2. ที่อ่านหนังสือพิมพ์ประจำหมู่บ้าน จำนวน 7 แห่ง ได้แก่
- หมู่ที่ 2 บ้านจอมจันทร์
- หมู่ที่ 3 บ้านดอยต่อ
- หมู่ที่ 5 บ้านดงสุวรรณ
- หมู่ที่ 6 บ้านแหลว
- หมู่ที่ 7 บ้านดง
- หมู่ที่ 8 บ้านโพธนาราม
- หมู่ที่ 9 บ้านนาล้อม
3. ศูนย์พัฒนาเด็กเล็ก จำนวน 1 แห่ง ได้แก่
- ศูนย์พัฒนาเด็กเล็ก องค์การบริหารส่วนตำบลสันทราย
ด้านความปลอดภัย
1. หน่วยบริการประชาชน จำนวน 1 แห่ง (ตำรวจตู้ยามตำบลสันทราย)
2. สมาชิก อปพร. จำนวน 50 ราย
3. งานป้องกันและบรรเทาสาธารณภัย องค์การบริหารส่วนตำบลสันทราย
ด้านการสาธารณสุข
1. โรงพยาบาลในเขตพื้นที่ จำนวน - แห่ง
(ประชาชนในพื้นที่ใช้บริการโรงพยาบาลอำเภอแม่จันซึ่งอยู่ห่างจากพื้นที่ ประมาณ 5 กิโลเมตร)
2. โรงพยาบาลส่งเสริมสุขภาพประจำตำบลในพื้นที่ จำนวน - แห่ง
(ประชาชนในพื้นที่ใช้บริการโรงพยาบาลส่งเสริมสุขภาพประจำตำบลซึ่งอยู่ในเขตเทศบาล)
3. บุคลากรที่ปฏิบัติงานด้านสาธารณสุขในเขตพื้นที่
- อาสาสมัครสาธารณสุขมูลฐานประจำหมู่บ้าน (อสม.) จำนวน 50 คน
โครงสร้างและอัตรากำลังขององค์การบริหารส่วนตำบลสันทราย
- ฝ่ายสภาองค์การบริหารส่วนตำบลสันทราย จำนวน 8 คน
- ฝ่ายบริหาร จำนวน 4 คน
- ฝ่ายประจำ
- พนักงานส่วนตำบล จำนวน 16 คน
- พนักงานจ้างตามภารกิจ จำนวน 5 คน
- พนักงานจ้างทั่วไป จำนวน 2 คน
- จ้างเหมาบริการ จำนวน 11 คน
ด้านทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อม
ตำบลสันทราย อำเภอแม่จัน จังหวัดเชียงราย มีพื้นที่ป่าไม้ ซึ่งบางส่วนทางหมู่บ้านได้มีการบริหารจัดการเพื่อการใช้ประโยชน์ในชุมชน โดยมีการตั้งกฎกติกาขึ้นมาใช้ร่วมกันและบางหมู่บ้านได้ขึ้นทะเบียนเป็นป่าชุมชน เพื่อการบริหารจัดการโดยชุมชนและการส่งเสริมสนับสนุนจากหน่วยงานที่เกี่ยวข้อง
ตำบลสันทราย มีแหล่งน้ำที่สำคัญ คือ แม่น้ำจัน แม่น้ำแหลว ลำห้วยดุก ลำน้ำห้วยดินดำ ลำห้วยป่าหญ้าไทร ลำห้วยขัว และลำห้วยแม่หะ หนองบัวและหนองฮ้าว ซึ่งชุมชนได้ใช้ประโยชน์เพื่อการเกษตรกรรม อุปโภคและบริโภค รวมถึงเพื่อการประมงพื้นบ้าน
การดูแล รักษาทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อมในเขตตำบลสันทราย มีแนวทางการบริหารจัดการตามภูมิปัญญาท้องถิ่น ประกอบกับแนวทางการสนับสนุนและส่งเสริมขององค์กรปกครองส่วนท้องถิ่น หน่วยงานภาครัฐและเอกชนที่เกี่ยวข้อง ส่งผลให้ชุมชนมีทรัพยากรน้ำอันอุดมสมบูรณ์มีปริมาณน้ำเพียงพอ ทั้งเพื่อการเกษตรกรรมและเพื่ออุปโภคบริโภคในท้องถิ่น อันจะทำให้ประชาชนในพื้นที่มีความกินดี อยู่ดี และมีความสุขที่ยั่งยืนต่อไป
ด้านประเพณีและวัฒนธรรมท้องถิ่น
ประเพณีและวัฒนธรรมท้องถิ่นของตำบลสันทราย ในรอบปี (มกราคม – ธันวาคม) มีความคล้ายคลึงกันกับชุมชนอื่น ๆ ในภาคเหนือ โดยมีรายละเอียดดังนี้
เดือน
|
ประเพณี
|
มกราคม – กุมภาพันธ์
|
ตานข้าวใหม่
|
มีนาคม
|
ปอยหลวง
|
เมษายน
|
สงกรานต์ บวชสามเณรภาคฤดูร้อน
|
พฤษภาคม
|
สรงน้ำพระธาตุ
|
มิถุนายน
|
เลี้ยงผีเสื้อบ้าน เลี้ยงผีปู่ย่า
|
กรกฎาคม – สิงหาคม
|
เข้าพรรษา ตานก๋วยสลาก
|
ตุลาคม
|
ออกพรรษา ตักบาตรเทโว
|
พฤศจิกายน
|
ลอยกระทง กฐิน
|
ประเพณีที่สำคัญของท้องถิ่น
1. ประเพณีสงกรานต์ เดือนเมษายน กิจกรรมโดยสังเขป การทำบุญตักบาตร รดน้ำดำหัวผู้สูงอายุ สรงน้ำพระ ทำความสะอาดบ้านเรือน การนำทรายเข้าวัด ฯลฯ
2. ประเพณีสรงน้ำพระธาตุจอมจันทร์ เดือนพฤษภาคม กิจกรรมโดยสังเขป การทำบุญตักบาตรและสรงน้ำพระธาตุจอมจันทร์
3. ประเพณีวันเข้าพรรษา เดือนกรกฎาคม กิจกรรมโดยสังเขป การทำบุญตักบาตร แห่เทียนเข้าพรรษา
4. ประเพณีตานก๋วยสลากหรืองานบุญสลากภัตต์ เดือนตุลาคม (โดยประมาณก่อนวันออกพรรษา) กิจกรรมโดยสังเขป การทำบุญอุทิศส่วนกุศลให้แก่บรรพบุรุษ ญาติพี่น้องในครอบครัวที่ล่วงลับไปแล้วด้วยการนำข้าวสารอาหารแห้งใส่ชะลอมที่สานด้วยไม้ไผ่และมีการจับสลากเพื่อถวายแด่พระภิกษุ สามเณรจากวัดต่างๆ ที่มาร่วมกับทางวัดที่จัดงาน
5. ประเพณีลอยกระทงหรือประเพณียี่เป็ง เดือนพฤศจิกายน (วันขึ้น 15 ค่ำเดือน 12 ซึ่งเป็นวันพระ)กิจกรรมโดยสังเขป การทำบุญตักบาตร มีการทำกิจกรรมทางศาสนาเช่นการฟังเทศน์ การประดิษฐ์ กระทงลอยแม่น้ำ การประกวดขบวนรถที่ประดับด้วยกระทงขนาดใหญ่และนางนพมาศ
6. ประเพณีงานบุญปอยหลวง กิจกรรมโดยสังเขป การทำบุญครั้งใหญ่ของชาวล้านนาในแต่ละชุมชน โดยมีการจัดงานบุญที่วัดและมี พระภิกษุ สามเณร ที่มาจากวัดต่างๆพร้อมชาวบ้านจากวัดนั้นหรือ คณะศรัทธามา ร่วมงานบุญ
7. วันสำคัญทางศาสนาพุทธกิจกรรม ประชาชนส่วนใหญ่ซึ่งนับถือศาสนาพุทธ เมื่อถึงวันสำคัญทางพุทธศาสนา เช่น วันมาฆะบูชา วันวิสาขบูชา วันอาสาฬหบูชา วันเข้าพรรษา วันออกพรรษา จะมีการทำบุญตัก บาตร เวียนเทียน ฟังเทศน์ เป็นต้น